วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2558

พืชพรรณกับงานภูมิทัศน์


ความหมายและความสำคัญของงานภูมิทัศน์

             วัสดุพืชพรรณเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดภูมิทัศน์ และการจัดการต่อสภาพแวดล้อมภายนอกอาคารและภายในอาคารในโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่ดิน สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ในปัจจุบันงานภูมิทัศน์มีบทบาทสำคัญในการช่วยปรุงแต่งโครงการเหล่านั้น ให้ดูมีคุณค่า เป็นจุดมุ่งหมายและช่วยแก้ปัญหา  วัสดุพืชพรรณเป็นส่วนช่วยทำให้เกิดความมีชีวิตชีวาและช่วยปรับสภาพแวดล้อมให้ดูดีและสวยงามขึ้น ซึ่งสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์อย่างยิ่งในปัจจุบัน ทั้งคนที่อาศัยอยู่ในสังคมชนบทหรือสังคมในเมือง  จริงอยู่สิ่งแวดล้อม (environment)  เป็นวัตถุ  พฤติกรรม  สถานการณ์ต่าง ๆ  ที่อยู่รอบตัวเรา อาทิ ลมฟ้าอากาศ ดิน น้ำ สิ่งมีชีวิต และสิ่งไม่มีชีวิต  เหล่านี้จะทำปฏิกิริยาร่วมกัน
             จุดที่ลำบากที่สุดในการออกแบบ คือ การนำเอาไม้หลาย ๆ ชนิดมาอยู่รวมกันหรือวางใกล้ ๆ กันแล้วให้มองดูสวยงามดังที่คิดภาพเอาไว้  การที่ได้สัมผัสหรือใกล้ชิดต้นไม้ แต่ละชนิดดีพอก็จะช่วยให้การกำหนดต้นไม้สวยงามและถูกต้อง เพราะบางคนกำหนดชนิดของต้นไม้ได้สวยงามแต่อยู่ไม่ได้ก็มี  ซึ่งความชำนาญในหัวข้อนี้ต้องอาศัยเวลาสักระยะหนึ่งในการทำงานเพื่อสอนประสบการณ์ให้นักออกแบบทุกคน ต้นไม้ที่ต้องเลือกอย่างระมัดระวังจะเป็นไม้พุ่มและไม้คลุมดินที่มีขนาดสูงแตกต่างกัน  ต้องพิจารณาว่าดอกและใบเข้ากันได้อย่างกลมกลืนส่วนต้นไม้ใหญ่นั้นอยู่สูงอีกระดับหนึ่งจะไม่มีปัญหาในการเลือกนอกจากเลือกเป็นกลุ่ม ๆ  ไม่มากชนิดก็พอ  ควรสังเกตลักษณะของต้นไม้และแบ่งแยกประเภทเอาเองว่าต้นไม้ชนิดใดปลูกแล้วให้บรรยากาศของป่าและบรรยากาศของบ้าน เพราะบางสถานที่ถ้านำต้นไม้ที่มีลักษณะผิดไปจากสภาพแวดล้อมไปปลูกจะเป็นการทำลายความงามดั้งเดิมของสถานที่นั้น  ต้นไม้ที่ให้ลักษณะในเมือง เข็มญี่ปุ่น โกสน เล็บครุฑ ปรงชนิดต่าง ๆ  ว่านสี่ทิศ  ดอนย่า (ต้นไม้ที่มีใบมันวาว ใบหนา และไม้ด่างแทบทุกชนิด) ต้นไม้ที่ให้ลักษณะป่า โมก เฟิน ผกากรอง บานเช้า พยับเมฆ เข็มม่วง (ต้นไม้ที่มีใบหนา เหี่ยวง่าย เมื่อขาดน้ำ) ควรกำหนดชนิดของต้นไม้ ขนาด และจำนวนของต้นไม้ให้ครบทุกชนิดในแปลนด้วย


ข้อคิดในการเลือกวัสดุพืชพรรณ

             การดูแลบำรุงรักษาพืชพรรณทุกชนิดที่เลือกต้องพิจารณาถึงการดูแลบำรุงรักษาควรเน้นพืชพรรณที่มีการบำรุงรักษาง่ายและต่ำ ซึ่งพิจารณา ได้ดังนี้

                -การร่วงของใบ  สำหรับไม้ใบกว้างควรเลือกชนิดที่ไม่ผลัดใบหรือผลัดใบตามฤดูกาล ดีกว่าเลือกชนิดไม้ที่ใบทยอยร่วงตลอดเวลา

               -การร่วงของดอก พรรณไม้บางชนิดเวลาออกดอกสวยงามมากแต่ช่วงเวลาบานสั้นมาก เช่น เหลืองอินเดีย ชมพูพันธุ์ทิพย์ เวลาดอกร่วง กระจายกรณีไม้ใหญ่ที่ให้ร่มเงาควรเป็นไม้ที่ให้ดอกตลอดทั้งปี โดยดอกบานแซมใบ บานทน ถ้าเป็นพรรณไม้ที่ดอกร่วงควรเป็นพรรณไม้ที่ดอกร่วงพร้อมกันดีกว่าทยอยร่วง
             -การร่วงของผล  เลือกพรรณไม้ที่มีผลร่วงยากดีกว่าผลร่างง่าย ผลร่วงพร้อมกันดีกว่าทยอยร่วง ผลร่วงไม่ฟุ้งกระจายดีกว่าผลร่วงแล้วเปลือกของผลเมล็ดแตกฟุ้งกระจาย

                 -ความแน่นของใบ  ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ต้องมีใบแน่นเพื่อให้เกิดร่มเงาป้องกัน แสงแดด ช่วยสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อม ทำให้ภูมิอากาศในบริเวณดีขึ้น ช่วยลดมลภาวะที่เป็นพิษ ยกเว้นการเลือกปลูกต้นไม้ใหญ่ในบริเวณสนามหญ้า ใบโปร่งดีกว่าใบแน่นเพราะสนามหญ้าต้องการแสงสว่างส่องถึง เพื่อใช้แสงในการปรุงอาหารเช่นเดียวกับพืชพรรณชนิดอื่น ๆ

                 -โครงสร้างของราก ถ้าเป็นต้นไม้ใหญ่ควรมีระบบรากลึกทั้งรากค้ำจุน รากแขนงและรากฝอย เพราะจะช่วยพยุงลำต้น หาอาหารได้ในระดับลึกใต้ผิวดิน และไม่ต้องแย่งอาหารกับพืชที่มีระบบรากตื้น เช่น หญ้าสนาม พืชคลุมดิน ไม้พุ่ม ไม้ยืนต้นขนาดเล็กระดับล่าง ถ้าโครงสร้างของระบบรากต้นและบางส่วนคอยอยู่ระดับผิวพื้นอาจทำลายพื้นผิวดาดแข็งให้แตกร้าวได้

                 -อัตราการเจริญเติบโต  อัตราการเจริญเติบโตเป็นคุณสมบัติเฉพาะของไม้แต่ละชนิดในทางภูมิทัศน์ ไม้ที่มีอัตราการเจริญเติบโตช้าดีกว่าพรรณไม้ที่มีการเจริญเติบโตเร็ว ไม้เจริญเติบโตเร็วเหมาะสำหรับเป็นพืชเศรษฐกิจ เพราะการเจริญเติบโตช้า สะดวกในการดูแลบำรุงรักษา การตัดแต่งกิ่ง การตัดขริบ และให้ความสวยงามยาวนาน

                 -ความเป็นสังคมและระบบนิเวศมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะแต่ละสังคมพืชขณะเดียวกันก็ต้องพร้อมเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศ (ecosystem) คือ การเป็นอยู่ร่วมกันโดยการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันของสิ่งมีชีวิต และสภาพแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต เพราะคุณสมบัติของระบบที่ดีควรจะประกอบไปด้วย การมีผลิตภาพหรือผลผลิต (productivity)  มีเสถียรภาพ (stability) ถาวรภาพ (sustainability) และสมภาพ (equitability) คือ ความสม่ำเสมอ

               -แมลงทำลาย ต้นไม้ใหญ่ และไม้พุ่มต้องเลือกที่มีความทนทานต่อแมลงทำลายโดยเฉพาะการทำลายลำต้น กิ่งก้านทำให้ลำต้น กิ่ง และก้านหัก อาจเป็นอันตรายแก่คนและทรัพย์สินได้

                 -ทนทานต่อโรค โรคพืชมีส่วนสำคัญที่ทำให้พืชพรรณชะงักการเจริญเติบโต ทำให้คุณภาพของพืชต้นนั้น ๆ ด้อยค่าลงขณะเดียวกันต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษามากขึ้น
           -พืชพรรณที่มีความทนทานสามารถเจริญเติบโตได้ในขอบเขตของพื้นที่ที่กว้างขวางในพื้นที่ที่มีข้อจำกัดในด้านความอุดมสมบูรณ์ของดิน  ความชื้นในดิน และความชื้นในบรรยากาศ อิทธิพลของแสง อิทธิพลของลม และข้อจำกัดในพื้นที่ปลูก  (สมจิต  โยธะคง,2540)


ที่มา : http://www.faed.mju.ac.th/it/student/success/student_data/011/chapter2-5.html



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น